โครงการ CIT Innovations Gallery ผลงานแนวความคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษา วทอ.

โครงการ CIT Innovations Gallery ผลงานแนวความคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษา วทอ.

.

Design Thinking Walk Gallery

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดแสดงผลงานในรายวิชา Design Thinking นำเสนอทั้งรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.สาลินี อาจารีย์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกเข้าร่วมประเมินผลงานนักศึกษาอย่างเข้มข้นจำนวน 109 กลุ่ม มีนักศึกษาเข้าร่วม 630 คน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมเพชราวุธ อาคาร 62 ชั้น 8

ทั้งนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานนักศึกษาภาคบรรยายประกอบด้วย

1) รองศาสตราจารย์ ดร. สาลินี อาจารีย์

2) อาจารย์ ดร.ลักษณ์นารา จันทรารมย์

3) อาจารย์ ดร. ณัชชา พัฒนะนุกิจ

.

และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานนักษึกษาภาคโปสเตอร์ ประกอบด้วย

1) คุณกฤฑยา กิจสว่างรังสี

2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง

3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์

4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วริษฐ์ ธรรมศิริโรจน์

5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิตเรขา ปากสมุทร

6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานทิพย์ บุญส่ง

7) รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐจนันท์ จงกล

8 ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธิรดา รอดเสียงลั้ง

9) อาจารย์ วัลภา เนตรดวงตา

10) รองศาสตราจารย์ ดร. สุภาภรณ์ เหรียญประดับ

11) รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนา อัตภูมิสุวรรณ

12) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาวัณย์ ทัศคร

13) อาจารย์ ดร. รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น

14) อาจารย์ตรีญาภรณ์ จันทภา

15) อาจารย์ พีรญา วะชังเงิน

.

สำหรับการเรียนในรายวิชา Design Thinking ในภาคเรียนที่ 2/2565 นี้ รองศาสตราจารย์ ดร. ศจีมาจ ณ วิเชียร กล่าวถึงการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวว่ามีคณาจารย์ผู้สอนจากสาขาวิชาสังคมและธุรกิจประกอบด้วย

1) รองศาสตราจารย์ ดร. สุภาภรณ์ เหรียญประดับ

2) รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา อัตภูมิสุวรรณ

3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไตรภพ จตุรพาณิชย์

4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาวิตา มณีมัย

5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ

6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิตา ภักดี

7) อาจารย์ ดร. นิพันธ์ ประวัติเจริญวิทย์

.

โดยรูปแบบการเรียนการสอนเริ่มต้นจากการออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิดตามขั้นตอนการออกแบบความคิด โดยทำการ workshop กลุ่มใหญ่ระหว่างผู้สอนประจำวิชาในฐานะ coach กับผู้เรียนบูรณาการตั้งแต่การสร้างความเข้าใจ (empathize) ระบุปัญหา (define) จุดประกายความคิด (ideate) สร้างต้นแบบ (prototype) และ ทดสอบ (test) โดยตลอดเส้นทางการเรียนรู้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรู้ ยังบูรณาการผลงานการออกแบบความคิดกับการวิเคราะห์กลยุทธ์แบบจำลองทางธุรกิจ Business Model Canvas—BMC เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเห็นความเป็นไปได้จากการนำความคิดไปต่อยอดในเชิงธุรกิจต่อไป